คาร์บอนไฟเบอร์
คาร์บอนไฟเบอร์หรือเส้นใยคาร์บอนเป็นวัสดุทางวิศวกรรมอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่สิ่งของที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อย่างการผลิตอาวุธและเครื่องบิน เรื่อยไปจนถึงสิ่งของที่พบได้ทั่วไปอย่างอุปกรณ์กีฬา เพราะวัสดุชนิดนี้มีสมบัติเด่นหลายอย่าง แต่ที่โดดเด่นมากคือ การเป็นวัสดุมีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรงสูงมาก นอกจากนี้คาร์บอนไฟเบอร์ยังมีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีต่างๆ และมีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่อุตสาหกรรมต่างพยายาม นำวัสดุนี้มาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย
คาร์บอนไฟเบอร์มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนเหมือนกับถ่านและแกรไฟต์ โดยทั่วไปเนื้อของวัสดุชนิดนี้จะประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อยร้อยละ 90 คาร์บอนไฟเบอร์เกิด จากเส้นใยคาร์บอนขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.005-0.10 มิลลิเมตรจำนวนมากควั่นกันเป็นเส้นด้าย
วัสดุ |
ความหนาแน่น
( กรัม/ ซ.ม )
|
ความต้านทานแรงดึง
(Tensile Strength (GPa))
|
ค่ามอดุลัสแรงดึง
(Tensile Modulus (GPa))
|
ความแข็งแรงเฉพาะ
(Specific Strength (GPa))
|
คาร์บอนไฟเบอร์ |
1.75 |
3.50 |
230.00 |
2.00 |
เหล็กกล้า |
7.87 |
1.30 |
210.00 |
0.17 |
การประยุกต์ใช้งาน คาร์บอนไฟเบอร์

อากาศยาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินเริ่มนำคาร์บอนไฟเบอร์มาใช้ในรูปของวัสดุคอมโพสิตตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 แล้ว โดยระยะแรกวัสดุถูกใช้เป็นแพนปรับระดับ (elevators) ประตูล้อหน้า-ล้อหลัก (fore-main landing gear door) เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการใช้วัสดุทั้งในเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์และเครื่องบินรบได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเครื่องบินโดยสารรุ่นใหม่อย่าง Boeing B787 ที่มีกำหนดเปิดให้บริการเที่ยวบินแรกช่วงปลายปี ค.ศ. 2008 นี้ เป็นเครื่องบินที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ในรูปของคอมโพสิตมากถึงร้อยละ 50

ยานยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์โดยเฉพาะรถแข่งพยายามออกแบบและสร้างตัวถังรถแข่งให้มีน้ำหนักเบา แต่ขณะเดียวกันตัวถังรถก็จำเป็นต้องมีทั้งความแข็งแรงสูง เพื่อความปลอดภัยของนักขับ ดังนั้นรถแข่งทั้งหลายจึงจำเป็นต้องใช้วัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ นอกจากนี้คาร์บอนไฟเบอร์ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในยานยนต์อีกหลายด้าน เช่น ใช้ในรถไฟความเร็วสูง ใช้เป็นวัสดุเสริมแรงสำหรับการผลิตถังบรรจุก๊าซความดันสูง เช่น ถังบรรจุก๊าซไฮโดรเจน ถังก๊าซเอ็นจีวี (แบบที่ 4) ใช้เป็นวัสดุตกแต่งรถยนต์ เป็นต้น


อุปกรณ์กีฬา เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่นำคาร์บอนไฟเบอร์มาใช้เสริมประสิทธิภาพให้อุปกรณ์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากสามารถลดน้ำหนักของอุปกรณ์ให้เบาลงได้ ขณะที่ให้ความแข็งแรงสูง ระยะแรกอุปกรณ์กีฬาที่นำคาร์บอนไฟเบอร์มาใช้งานมักไม่ค่อยได้รับความสนใจ เนื่องจากทำให้อุปกรณ์กีฬามีราคาแพงมาก แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ กีฬาที่มีคาร์บอนไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบมีราคาถูกลง ทำให้แม้แต่นักกีฬาสมัครเล่นต่างหันมาใช้อุปกรณ์ที่มีคาร์บอนไฟเบอร์มากขึ้น

รับทำต้นแบบ แม่แบบโมลด์ ขึ้นรูปชิ้นงาน CFRP การหล่อใส หล่อเรซิ่น งานปั้นขึ้นรูป โมเดลต่าง ๆ ด้วยประสบการณ์ในการทำงานและการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไ ม่ว่าท่านต้องการผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใด เราสามารถออกแบบได้ตามความต้องการของท่าน และพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานคาร์บอนไฟเบอร์ ไฟเบอร์กลาส
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เจ.อาร์.แอล.สยาม จำกัด
14/164 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ต.สำโรงกลาง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
โทรศัพท์ 0-2754-4161-3 , 081-642-5140
โทรสาร 0-2755-9019
Email : info@jrlsiam.com
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_fiber
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ